วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สมาชิกในกลุ่ม

1 ด.ช.สิรวิชญ์ สุขศิลา
2 ด.ช.ปิยะพงษ์ บุญเสน
3 ด.ช.อัฐพล อินทรภักดี
4 ด.ช.วิศิษ ทิพย์กองลาศ
5 ด.ช.สุทธิรัก ไชยรัตน์
6 ด.ญ.สุภาวดี ทรัพย์วัฒนวงศ์
7 ด.ญ.กมลณัฐ ศรีวุ่น
8 ด.ญ.ไอรีน เจียงเกียรติชง

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้

1.หลักการเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในการสื่อสารข้อมูล
ตอบ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆหรือแพ็กเก็ตและส่งไปยังปลายทาง. ประโยชน์คือการส่งข้อมูลของหน่วยงานสามารถส่งได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง
2.เพราะเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้หมายเลขไอพีมาเป็นดีเอ็นเอส
ตอบ. เพราะหมายเลขไอพีจดจำยากและสับสนจึงเปลี่ยนมาเป็นแบบดีเอ็นเอสที่จดจำได้ง่าย
3.รูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสประกอบด้วยกี่ส่วนอะไรบ้างจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ. 2ส่วนคือชื่อผู้ใช้และชื่อเครื่องบริการ ยกตัวอย่างเช่น sirawitgod@hotmail.com
4.เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงข่าวสารข้อมูลมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ. เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์สนทนาหรือสื่อสารซึ่งกันและกัน
5.จงบอกมารยาท ระเบียบ บังคับในการใช้อินเตอร์เน็ตที่นักเรียนพึงปฏิบัติมาอย่างละ5ข้อ
ตอบ. 1ต้องไม่ใช่คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
2ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
3ต้องไม่ใช่คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
4ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
5ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รักอนุญาต

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

    มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่่น
3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบัน หรือสังคมนั้นๆ

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

  1.ผลกระทบทางบวก
   อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม   ดังนี้
        1)ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่   กล่าวคือ  ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่  ทุกเวลา
        2)ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
        3)ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2.ผลกระทบทางลบ
   อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางลบต่อสังคม   ดังนี้
        1)ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม
        2)เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง
        3)เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม
        4)เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
        5)อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

       1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย หรือก็คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเเบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น
      1.2 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
การศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน การศึกษาความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสาร ประโยชน์ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต
          1)อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต
อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงและเครือข่ายของกองทัพ โดยในช่วงต้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ตและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          2)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอข้อมูลมหาวิทยาลัย และสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียโดยเป็นการเชื่อมต่่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
ปีี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร
ปี พ.ศ.2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

    บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
  1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
 เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator

  2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1.       ชื่อผู้ใช้ (User name)
2.       ชื่อโดเมน
Username@domain_name
       การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
  1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น   u47202000@dusit.ac.th   คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
   2. Free e-mail คือ  อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น
Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ  Chaiyo Mail
   3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol)
  เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
   1.        การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File )
การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
   2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File)
การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
    4 บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message)
  การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ            (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น     
     5 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
  1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory   เช่น  www.yahoo.com, www.sanook.com
  2.  Search Engine  คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา
website ที่ให้บริการ search engine  เช่น  www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
   3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
           6 บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board)
เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
           7.  ห้องสนทนา (Chat Room)
ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com www.pantip.com

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
         การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)

           วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
              สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
                เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
                 การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร
                   เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
  - การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

          การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล(Protocol)ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของ การเชื่อมต่อกำหนดไว้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคือTCP/IP  (TransmissionContro Protocol/InternetProtocol)  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลข ประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocolตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น4ส่วนส่วนละ8บิตเท่าๆกันเวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่าย
แล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือตั้งแต่ 0 จนถึง 255เท่านั้นเช่นIPaddressของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิตคือ203.183.233.6ซึ่งIPAddressชุดนี้ จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่ายโดเมนเนม  (Domainnamesystem:DNS)  เนื่องจาก การติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลTCP/IPเพื่อสื่อสารกันโดยจะต้องมีIPaddressในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆแล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้นการจดจำหมายเลขIPดูจะเป็นเรื่องยากและอาจสับสนจำผิดได้  แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
   . com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
   . edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
   . int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
   . org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
   . net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย


  •  การขอจดทะเบียนโดเมน 

การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่
สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิมเราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เรา
จะเข้าไปจดทะเบียนการขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
          1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ       www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
          2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net  โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
   . ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
   . co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
   . go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
   . net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
   . or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
   . in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆไป